วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

"การเรียนการสอนของเด็กอนุบาลนั้น จะเป็นการเรียนการสอนแบบหน่วยการเรียนรู้ คือครูจะกำหนดหน่วยการเรียนรู้ขึ้นมา ซึ่งแต่ละหน่วยนั้นต้องสอดคล้องกับกิจกรรมในชีวิตประจำวันของเด็ก หรือสิ่งที่เด็กควรเรียนรู้ให้เหมาะสมกับวัยของเด็ก ตัวอย่างเช่น หน่วยวันพ่อ  หน่วยวันครู  หน่วยสัตว์น่ารัก หน่วยบ้าน เป็นต้น โดยครูจะกำหนดแผนกิจกรรมต่างๆที่เด็กต้องเรียนรู้ หรือเรียกว่าแผนการสอน"

การเรียนแบบโครงการ "Project Approach"

 วันนี้ดิฉันขอนำเสนอการเรียนรู้แบบโครงการ "Project Approach" ซึงเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่ทำให้เด็กได้เกิดวิธีการเรียนรู้ที่แปลกใหม่จากเดิม การเรียนรู้แบบโครงการเป็นการเรียนรู้ที่เน้นเด็กเป็นสำคัญ เป็นการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน และเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้สิ่งที่ตนเองสนใจหรืออยากเรียนรู้ โดยเด็กๆจะเป็นคนเลือกเรียนในหัวข้อที่ตนเองสนใจ เด็กๆจะสังเกตจากสิ่งรอบๆตัวหรือในชีวิตประจำวันว่าเด็กๆอยากจะเรียนรู้อะไร เด็กๆ จะไม่ได้เรียนรู้เรื่องนั้นเพียงอย่างเดียวแต่ครูจำนำวิชาต่างๆมาบูรณาการในกิจกรรมโครงการด้วย เช่น วิชาภาษาไทย  วิชาภาษาอังกฤษ เป็นต้น โดยในการเรียนแบบโครงการนั้นจะใช้เวลาทั้งหมด 2-3อาทิตย์โดยประมาณ Project Approach ยังเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้รูปแบบหนึ่งที่เปิดโอกาสให้เด็กเรียนรู้สิ่งต่างๆที่เด็กสนใจในโลกแห่งความเป็นจริงและพบเห็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งเด็กๆสามารถศึกษาได้โดยง่าย ทั้งที่โรงเรียน ที่บ้าน และในชุมชน นอกจากนั้น Project Approach ยังตั้งอยู่บนรากฐานของทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) และช่วยพัฒนาจิต 5 ประการ (Five Minds of the Future) ด้วย  Project Approach ทำให้เด็กได้เป็นผู้ลงมือทำการศึกษาสิ่งต่างๆใกล้ตัวเด็กที่เด็กๆสนใจ และมีคุณค่าที่จะเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งนั้น Projects เปรียบเสมือนเรื่องราวที่สนุกและตื่นเต้น สำหรับเด็กๆ

การเรียนรู้แบบโครงการ "Project Approach" มีขั้นตอนการสอนทั้งหมด 4 ระยะ คือ
ระยะที่ 1  เริ่มต้นโครงการ
ระยะที่ 2 พัฒนาโครงการ
ระยะที่ 3 สรุปโครงการ


ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้นโครงการ

           ก่อนเริ่มการเรียนการสอนครูจะใช้คำถาม ถามเด็กๆก่อนถึงสิ่งที่เด็กๆอยากเรียนรู้  หรือเรื่องที่เด็กๆสนใจของแต่ละคน  โดยเด็กๆแต่ละคนจะสังเกตจากสิ่งของ สิ่งแวดล้อมทั่วไปที่อยู่รอบๆตัวเด็กๆ เช่น ต้นไม้ รถยนต์ น้ำ สัตวืน่ารัก เป็นต้น  จากนั้นให้เด็กจะเสนอเรื่องที่เด็กๆอยากเรียนรู้หรือสนใจมาคนละ 1 เรื่องพร้อมเหตผลเพราะอะไรถึงอยากเรียนรู้เรื่องนี้  และครูมีหน้าที่จดบันทึกคำพูดของเด็กๆทุกคนลงแผ่นชาร์ต บางครั้งเด็กบางคนอาจจะยังไม่สามารถเรียบเรียงคำพูดได้ ครูมีหน้าที่กระตุ้นให้เด็กคิดและเป้นสื่อเรียบเรียงคำพูดของเด็ก




             จากนั้นครูเลือกหัวข้อที่เด็กๆให้ความสนใจมากที่สุดลงในแผ่นชาร์ต และให้เด็กๆช่วยกันลงมติเลือกเรื่องที่ทุกคนให้ความสนใจมากที่สุด โดยครูอาจทำเป็นแผ่นชาร์ตแสดงความเห็นของเด็กๆโดยให้เด็กๆเป็นคนเลือกเรื่องที่สนใจเอง ซึ่งแผ่นชาร์ตจะแสดงจำนวนนักเรียนที่สนใจเรื่องไหนมากที่สุด และแสดงให้เห็นว่าเด็กคนไหนสนใจเรื่องอะไรบ้าง  
             เมื่อได้เรื่องที่เด็กๆเลือกแล้ว  ครูสอบถามเกี่ยวกับประสบการณ์เดิมที่เด็กรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน  และสิ่งที่เด็กๆอยากรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียน  ครูบันทึกคำพูดของเด็กๆแต่ละคนลงในแผ่นชาร์ต  









ระยะที่ 2 ระยะพัฒนาโครงการ

ระยะต่อมา  ครูและเด็กร่วมกันสนทนาถึงหัวข้อที่จะเรียน โดยครูอาจจะช่วยเด็กๆคิดถึงสถานที่ที่เด็กๆสามารถไปค้นคว้าเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน และหาวิทยากรที่จะมาให้ความรู้แก่เด็กๆด้วย อาจขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่นๆที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญก็ได้ เพื่อที่เด็กๆจะได้เรียนรู้จากของจริง สถานที่จริง  สิ่งสำคัญครูจัดทำสื่อการสอนขึ้นมาในแต่ละหัวข้อที่เรียนให้สอดคล้องกับเรื่องที่เรียน  โดยต้องคำนึงถึงตัวเด็กเป็นหลักคือ สื่อควรทำให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจแก่เด็กไม่ควรซับซ้อน หรือเข้าใจยาก เพราะจะทำให้เด็กเกิดความไม่เข้าใจ และเบื่อหน่ายได้  






 และในกิจกรรมสร้างสรรค์จะมีการประดิษฐ์ผลงานขึ้นมาจากเด็กๆ  โดยไม่จำเป็นต้องให้เด็กๆซื้ออุปกรณ์มาประดิษฐ์ผลงานใหม่ๆ แพงๆ  แต่อาจนำเศษวัสดุที่เหลือใช้ในห้องเรียน หรือจากที่บ้านสั่งเป็นการบ้านให้เด็กๆนำเศษวัสดุมาโรงเรียนเพื่อเป็นการสิ่งเด็กๆให้มีความรับผิดชอบ  และนำมาประยุกต์ใช้ได้เพื่อเด็กจะได้รู้จักใช้วัสดุอย่างเห็นประโยชน์    
เด็กๆจะไม่ได้ทำงานศิลปะสร้างสรรค์เพียงอย่างเดียวแต่เด็กๆจะได้ทำใบงานเกี่ยวกับเรื่องที่เรียน  โดยในใบงานนั้นจะบูรณาการวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์  ภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ มาช่วยในการสอนเด็กๆ เพื่อฝึกทักษะด้านต่างๆของเด็กๆด้วย





วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

                                                                                                                                           แหล่งข้อมูล 
                                                                                                                           http://taamkru.com/th/

ระยะที่ 3 ระยะปิดโครงการ


ในระยะนี้ ถือเป็นระยะสำคัญ  เด็กและครูร่วมกันสรุปเรื่องที่ได้เรียนมาตลอดโครงการว่าเด็กๆได้รับความรู้อะไรเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนบ้าง  และในวันการเรียนการสอนวันสุดท้ายจะมีการจัดนิทรรศการแสดงผลงานของเด็กๆในตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาว่าเด็กๆได้เรียนรู้อะไรบ้าง  เด็กๆจะเป็นผู้นำเสนอเนื้อหาต่างๆตามหัวข้อที่เรียนโดยได้รับมอบหมายและฝึกซ้อมจากครูประจำชั้นจากเด็กๆเอง โดยในนิทรรศการจะมีการแสดงโชว์ผลงานและใบงานต่างๆของเด็กๆที่ได้เรียนเกี่ยวกับโครงการทั้งหมด โดยเชิญนักเรียนห้องอื่นและผู้ปกครอง มาชมนิทรรศการที่เด็กๆและครูได้จัดเตรียมไว้   ถือเป็นการปิดโครงการ


สิ่งที่เด็กจะได้รับจากการเรียนรู้แบบโครงการนั้น 
-   ทําให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ช่วยบูรณาการความรู้ ทักษะ และนําเสนอในห้องเรียน เด็กได้ประยุกต์และใช้สิ่งที่ตน เรียนรู้  พัฒนาทักษะการทํางานร่วมกับผู้อื่นและท้าทายให้เด็กคิด   เป็นการสนับสนุนพัฒนาการเด็กทางด้านสมอง เด็กมักจะมีคําถามของตนเองและสนใจที่จะเรียนรู้ใช้แหล่งข้อมูลต่างๆ รวมทั้งตัวครูในการหาคําตอบ  ครูควรจะรับฟังสิ่งที่เด็กพูดและสิ่งที่เด็กถามอย่างจริงใจ ผลสําเร็จของการทําโครงการจึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์เดิม สิ่งแวดล้อม ความสนใจและ ความอยากรู้อยากเห็นของเด็กเป็นอยางมาก